วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้ส่วนต่างๆของพืชผัก

        
                    วิธีการที่ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของต้นพืชให้มากขึ้นโดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นพืชผักมาขยายพันธุ์ เพื่อดำรงสายพันธุ์ พืชชนิดต่าง ๆ ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ ซึ่งวิธีการที่นิยมปฏิบัติโดยทั่วไป    มีวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้ส่วนต่างๆของพืชผัก ดังนี้ (นันทิยา วรรธนะภูติ.  2542  :  166)
                                      การตอน คือ การทำให้กิ่งพืชเกิดราก ขณะที่ยังติดอยู่กับต้นแม่ เมื่อกิ่งออกรากดีแล้วก็จะถูกตัดไปปลูก ต้นที่ปลูกตั้งตัวได้แล้วก็จะกลายเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป
      ประโยชน์ของการตอนกิ่ง คือ สามารถทำให้พืชหลายชนิดที่ไม่ออกรากด้วยการ ปักชำ ออกรากได้ด้วยการตอน เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ทำได้ทั้งกลางแจ้ง และในร่ม สามารถทำได้ผลดี ไม่ต้องใช้ฝีมือ  และได้ต้นพืชที่มีขนาดโตกว่าการขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ
ข้อเสียของการตอนกิ่ง คือ  ราคาค่อนข้างแพง  กิ่งตอนมีขนาดโต การย้ายปลูกทำได้ยาก    จำนวนกิ่งที่ตอนได้ต่อต้นน้อย และเป็นวิธีการที่ยุ่งยาก
อุปกรณ์ในการตอนกิ่ง  ได้แก่  มีด เชือกฟางและพลาสติก ขุยมะพร้าว ฮอร์โมนพืช ต้นพันธุ์พืช
วิธีการตอนกิ่ง  มีวิธีการดังนี้
1.               ควั่นกิ่ง คือ  เป็นการทำแผลที่นิยมและใช้กันมานานแล้ว สามารถใช้ได้กับพืชหลายชนิด เช่น มะนาว ส้ม ชมพู่ ฝรั่ง ลิ้นจี่ ส้มโอ และไม้ดอกไม้ประดับ ฯลฯ วิธีนี้เหมาะสำหรับพืชที่ลอกเปลือกไม้ออกได้ง่าย
2.             แกะเปลือกออก
3.             ขูดเยื่อเจริญออก
4.             กรีดบริเวณออกรากให้เป็นแผล
5.             หุ้มด้วยวัสดุปักชำ
6.             หุ้มด้วยพลาสติก และมัดเชือกให้แน่น
7.             เมื่อออกรากพอสมควรจึงตัดย้ายไปชำ & ปลูก ฯลฯ
การปักชำ (Cutting)  การตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของต้น รากหรือใบพืชผัก ไปไว้ในที่ ๆ เหมาะสม โดยส่วนนั้น ๆ สามารถเกิดรากและแตกยอดเป็นพืชต้นใหม่ที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ
ประโยชน์ของการปักชำ  คือ   ช่วยรักษาลักษณะของพันธุ์พืชเดิมไว้ไม่กลายพันธุ์ได้พืชต้นใหม่หลายต้นจากต้นเดิมต้นเดียวทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สะดวก รวดเร็ว ได้ต้นไม้ในเวลาอันสั้น สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย และทำได้ในปริมาณมาก เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์พืชที่ไม่มีเมล็ด หรือขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
อุปกรณ์ในการปักชำ  ได้แก่  พันธุ์พืช  มีด กรรไกร วัสดุเพาะ ทราย : ขี้เถาแกลบ อัตราส่วน 1 : 1 ฮอร์โมนพืช 
                              วิธีการปักชำ  มีวิธีดังนี้
1.                  เลือกกิ่งพืช (กิ่งอ่อน, กึ่งอ่อนกึ่งแก่, กิ่งแก่)
2.                  ตัดใบออก 1 ใน 3
3.                  ตัดกิ่งปักชำยาวประมาณ 3-5 นิ้ว เป็นรูปปากฉลาม
4.                  ทารอยแผลบริเวณรอยกิ่ง
5.                  จุ่มฮอร์โมน แล้วผึ่งให้แห้งในที่ร่ม
6.                  นำไปปักชำในวัสดุที่เตรียมไว้
7.                  ให้ความชื้น ฯลฯ

การปฏิบัติดูแลรักษาต้นกล้า

การปฏิบัติดูแลรักษาต้นกล้า   มีวิธีการดูแลรักษาต้นกล้า ดังนี้ (เมืองทอง ทวนทวี.  2525  :  59)
1.        การให้แสงแดด  ต้นกล้าควรได้รับแสงสว่างเพียงพอ  โดยหลักการควรทำหลักจากเมล็ดงอกแล้วจนถึงช่วงอายุ 7-10 วัน ระยะ 3 วันแรกควรให้ได้รับแสงแดดในช่วงเช้า ประมาณ 06.00 – 08.00 น. และช่วงบ่ายประมาณ 16.00 – 18.00 น.  และการเพิ่มให้แสงทีละน้อย ๆ ครั้งละ 3 ชั่วโมง  ทุก ๆ 3 วัน  จนกล้าได้รับแสงแดดตลอดทั้งวันในช่วงอาทิตย์ที่สอง
2.       การให้น้ำต้นกล้า ควรให้น้ำสม่ำเสมอ ชุ่มชื้นเหมาะสม  จนถึงระยะทำให้กล้าแข็งตัว ควรให้น้ำตอนเช้า  และตอนบ่ายก่อนเวลา 15.00 น.  เพื่อให้ใบและต้นแห้งก่อนเวลาเย็น ลดโอกาสเชื้อราจะเข้าทำลาย โดยเฉพาะโรคโคนเน่าของต้นกล้า  ควรให้น้ำเป็นฝอย ๆ เพื่อไม่เกิดดารช้ำของต้นกล้า
3.       การให้ปุ๋ย  ควรให้ปุ๋ยพวกสตาร์ทเตอร์โซลูชั่น เพื่อให้กล้าสมบูรณ์แข็งแรงสมบูรณ์  โดยละลายน้ำรดให้ต้นกล้าตามอัตราส่วนที่เหมาะสมที่แนะนำ  อย่างระวัง อย่าผสมสารละลายปุ๋ยเข้มข้นมากเกินไป จะเป็นการทำอันตรายต่อต้นกล้าได้
4.       การป้องกันโรค และแมลงแก่ต้นกล้า เพื่อไม่ต้นกล้าติดโรคหรือโดนแมลงทำลายได้ลักษณะของต้นกล้าที่ดี คือ ต้องปราศจากการเข้าทำลายของศัตรู  มีความอุดมสมบูรณ์ และการรอดตายหลังการย้ายปลูกบนแปลงปลูก  มีขนาดของต้นกล้าใหญ่และแข็งแรงมากที่สุด และความแตกต่างของ Top /Root 

การขยายพันธุ์พืชผักสวนครัว

การขยายพันธุ์พืชผักสวนครัว  คือ การทำให้จำนวนต้นพืชให้มีมากขึ้นจากที่มีอยู่ โดยการนำส่วนต่าง ๆ ของลำต้นมาทำการขยายพันธุ์ เช่น การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด การตอนกิ่ง การปักชำ การตัดชำ เป็นต้น  (นันทิยา วรรธนะภูติ.  2542  :  1)  โดยมีวิธีการขยายพันธุ์ ดังต่อไปนี้
1.    การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  เป็นการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ  ต้นใหม่ที่ได้หมักจะไม่เหมือนต้นเดิม  โอกาสที่จะเกิดลักษณะผันแปรในชั่วลูกหลานมีมากจึงใช้วิธีขยายพันธุ์แบบนี้เพื่อปรับปรุงพันธุ์ผักให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะตามที่ต้องการ  เช่น  ลักษณะการทนทานต่อโรค ทนแล้ง ให้ผลผลิตเร็ว  โดยการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดต้องอาศัยการเพาะกล้า ซึ่งวิธีการเพาะกล้าอยู่ 2 วิธี คือ
           1.1    การเพาะกล้าในภาชนะ คือ  การเพาะกล้าที่ใช้เนื้อที่น้อย เป็นผักที่ต้องการความประณีตในการเพาะปลูก และสะดวกในการดูแลรักษา เพาะปลูกได้ทุกฤดูกาล ได้ต้นกล้าที่สม่ำเสมอ               การเพาะกล้าในภาชนะเหมาะแก่เมล็ดผักที่มีราคาแพง  โดยมีวิธี ดังนี้ คือ  ขั้นคอนแรก  เตรียมภาชนะ  วัสดุเพาะ และเมล็ดพันธุ์   ขั้นตอนที่สอง กรอกวัสดุเพาะลงในภาชนะ  ขั้นตอนที่สาม  หยอดเมล็ดลงในภาชนะที่เตรียมไว้   ขั้นตอนที่สี่  ให้ความชื้น คือการให้น้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เมล็ดเจริญเติบโตขึ้นเป็นต้นกล้า  และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการดูแลรักษา
            1.2    การเพาะกล้าในแปลงเพาะ  คือ การเพาะกล้าที่ต้องการต้นกล้าจำนวนมากและกล้าจะมีความแข็งแรงหลังจากการย้ายกล้าไปปลูกในแปลงปลูก  การเพาะกล้าในแปลงเพาะเหมาะกับผักที่ปลูกตามฤดูกาล  วิธีการเพาะกล้าในแปลงเพาะ  มีขั้นตอนดั้งนี้
1.       นำเมล็ดไปทดสอบความงอก
2.       นำเมล็ดไปทำความสะอาด
3.       ทำลายสลายสภาพการพักตัว และกระตุ้นการงอกของเมล็ด
4.        แต่งผิวหน้าดอนแปลงเพาะ
5.       ใช้ไม้กรีดเป็นแถวลึก 1-2 เซนติเมตร  แต่ละแถวห่างกัน 1-3 นิ้ว
6.        นำเมล็ดผึ่งในที่ร่มให้แห้ง
7.       โรยเมล็ดลงในร่องที่เตรียมไว้
8.       ใช้ไม้ปาดผิวหน้าดินเพื่อกลบเมล็ดที่โรยไว้
9.        ผสมทรายหรือขี้เถ้าแกลบคลุกกับเมล็ดผักที่มีขนาดเล็ก
10.      คลุมแปลงด้วยเศษฟาง
11.      รดน้ำเพื่อให้ความชื้น

ปัญหาและความสำคัญของผักสวนครัว

ปัญหาและความสำคัญของผักสวนครัว (เมืองทอง ทวนทวี และคนอื่น ๆ.  2525  : 15) มีดังนี้
1. ปัญหา
1.1  การใช้สารเคมีเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี สวยและมีจำนวนมาก แต่มักมีผลเสียต่อร่างกายของผู้บริโภค
1.2  ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  ถ้าทุกคนภายในครอบครัวมีกิจกรรมให้ทำร่วมกันในรั้วบ้านก็ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันภายในครอบครัวได้
1.3  เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  สามารถทำให้เวลายามว่างเป็นประโยชน์จะได้ไม่คิดหมกมุ่นหรือฟุ่มซ่าน
2.  ความสำคัญของการผลิตพืชผักสวนครัว
2.1  ทำให้ผู้ปลูกมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักที่ทันสมัยและนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการปลูกผักที่ทันสมัยและนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการปลูกผักเพื่อการค้าได้
2.2  สามารถแก้ปัญหาการปลูกผักได้ด้วยตนเองมันต้องได้จากการสังเกตว่า                        เกิดอะไรขึ้น จนเกิดประสบการณ์  เช่น โรค แมลง  หนอน  เป็นต้น
2.3  รู้จักใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพ  ที่ดิน  น้ำ  แรงงาน  ฯลฯ
2.4  ทำให้ครอบครัวมีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น
2.5  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักและนำเงินที่เหลือเก็บไปซื้อเนื้อสัตว์แทน
2.6  ทำให้สมาชิกในครอบครัว มีผักเพียงพอในการบริโภค
2.7  ทำรู้จักการปรุงและถนอมอาหารที่ถูกวิธี
2.8  ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ความหมายพืชผักสวนครัว

                พืชผักสวนครัว หมายถึง พืชอะไรก็ได้ที่เราปลูกขึ้นเองหรือขึ้นเองตามธรรมชาติและเราสามารถเอาส่วนต่าง ๆ ของพืชมาบริโภคได้ เช่น ใบ ก้าน ลำต้น ดอก ผล เมล็ด หรือรากมาประกอบอาหาร โดยที่พืชจะต้องมีลักษณะอ่อนนุ่ม ไม่แข็ง อวบน้ำ มีรสชาติหวานหรือบางชนิดเป็นขม และไม่พิษต่อร่างกาย (ประสิทธิ์ ชุติชูเดช.  2553  :  สัมภาษณ์)


ความหมายของคนไทยแบ่งพืชผักเป็น 2 ประเภท คือ พืชผักที่ได้จากพืชโดยตรง เช่น กะหล่ำปลี ผักชี ผักกาด คะน้า  เป็นต้น และพืชอื่น ๆ ที่ไม่จัดว่าเป็นผัก แต่นำส่วนต่าง ๆ ของพืชมารับประทานเป็นผัก เช่น มะกอก ส้มโมง มะเขือเทศ เป็นต้น (ดนัย บุณยเกียรติ และคนอื่น ๆ.  2535  :  2)


ปฏิทินของฉัน